โดยทั่วไปเราสามารถตรวจสอบความจุแรมที่ติดตั้งบนเครื่องของเราได้โดยการดูจาก My Computer และเลือก Properties แต่นั้นก็ไม่ได้ช่วยให้เรารู้อะไรมากมาย ซึ่งหากต้องการดูให้ละเอียดและลึกซื้งมากขึ้น ต้องใช้โปรแกรมช่วย
การดูแรมเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้ว่า หากต้องการจะซื้อแรมมาอัพเกรด ก็จะทำให้เรามั่นใจได้ว่าซื้อถูกรุ่น ถูกยี่ห้อ และยังเป็นการลดปัญหาการเข้ากันไม่ได้ของแรมเดิมและแรมใหม่ โดยเฉพาะมือใหม่ที่อยากจะลองปรับแต่งดูบ้าง โดยที่ไม่อยากพึ่งช่าง ด้วยโปรแกรม CPU-Z นี้ จะช่วยได้เยอะเลยทีเดียว เพราะจะบอกรายละเอียดตั้งแต่ชนิดของแรม ความเร็ว ค่า Timing รวมถึงครั้งที่ผลิตอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้เราทราบรายละเอียดสำหรับการเพิ่มความเร็วได้มากทีเดียว
ความสามารถของ CPU-Z โดยรวม
- แสดงรายละเอียดของ CPU
- ชื่อและหมายเลข
- Core stepping and process.
- Package
- Core voltage
- Internal and external clocks, clock multiplier
- Supported instructions sets
- แสดงรายละเอียดของ Cache
- แสดงรายละเอียดของ MainBoard
- ชื่อ Vendor, model and revision
- BIOS model and date
- Chipset (northbridge and southbridge) and sensor
- Graphic interface
- แสดงรายละเอียดของ Memory
- แสดงรายละเอียดของ System
สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่ www.cpuid.com ซึ่งเป็นไฟล์ขนาดเล็ก ใช้งานสะดวก
เมื่อได้มาแล้ว ให้ทำการติดตั้งลงบนเครื่องได้เลย การเรียกใช้งานทำได้ด้วยการดับเบิลคลิกที่ cpuz.exe หน้าต่างโปรแกรมก็จะปรากฏขั้นมาให้เห็น
หน้าแรกของโปรแกรมจะเห็นแท็บของ CPU ปรากฏอยู่ ซึ่งจะบอกรายละเอียดต่างๆ ของซีพียูไว้อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นรุ่น ความเร็ว ความเร็วบัส การใช้พลังงาน รวมถึงปีเจอร์อื่นๆ ก็จะอยู่รวมกันในแท็บนี้
แต่ส่วนที่เราจะใช้ก็คือ แท็บของ Memory หากต้องการรู้ว่าแรมที่ใช้เป็นแบบใด รุ่นไหน บัสเท่าไร ก็ให้ดูที่กรอบ General ในส่วนของ Type ถัดลงมาด้านล่างจะบอกถึงความจุทั้งหมดที่ติดตั้งลงไปในเครื่องเรา เป็นจำนวนกี่ GB รวมถึงสถานะการทำงานว่าอยู่ในโหมด Single Channel หรือ Dual Channel
ที่สำคัญอีกจุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ในหน้าเดียวกันก็คือ Timing ถามว่ามีไว้ทำอะไร Timing นี้จะช่วยให้เราได้รู้ว่าความเร็วในการทำงานของแรม ณ เวลานั้น อยู่ที่เท่าไร รวมไปถึงค่าของ CL ต่างๆ ของแรมด้วย และที่สำคัญอีกอย่างก็คือ FSB : DRAM ที่จะบอกได้ว่าเวลานี้สัดส่วนความเร็วบัสของซีพียูและแรมเป็นแบบใด 1 : 1, 1 : 3 หรือ 1 : 4 ซึ่งจะช่วยให้เราประมาณการเพื่อปรับความเร็วในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ให้สังเกตในส่วนของ Timings ดูว่าค่าตัวเลขของ DRAM Frequency จะบอกเป็นบัสปกติ คือ 200/333/400/533/667 หากจะดูเป็นตัวเลขจริงๆ ของแรม จะต้องนำมาคูณ 2 เสียก่อน ก็จะรู้ว่าบัสจริงของแรมเป็นเท่าไร จากตัวเลขข้างบนก็จะออกมาเป็น 400/667/800/1066/1333 ตามลำดับ ให้นำตัวเลขเหล่านี้ไปดูที่ร้าน เมื่อต้องการจะอัพเกรดแรม
แท็บ SPD เป็นอีกหนึ่งแท็บที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยในส่วนนี้จะบอกว่าเรามีแรมชนิดใดบ้าง ที่ทำการติดตั้งอยู่ และติดตั้งอยู่ที่สล็อตใด ในกรอบของ Memory Slot Selection ให้ลองคลิกเลือกดูตามสล็อต หากว่ามีแรมติดตั้งอยู่ เมื่อคลิกเลือกก็จะปรากฏตัวเลขและสถานะให้เห็น ไม่ว่าจะเป็นความจุ ยี่ห้อ ความเร็ว และปีที่ผลิตให้รู้อีกด้วย
6 ความคิดเห็น:
ขอบคุณมากครับ
แล้วดู bus ตรงไหนคับ ช่วยอธิบายให้นิดนึง เพราะขึ้นหัวข้อว่า "แรมรุ่นไหน บัส (Bus) เท่าไร" ?
ขอเอาข้อมูล ขยายในเรืองนี้นะคับ ตามลิงค์นี้คับ
http://pantip.com/topic/30620637
ดูที่ช่อง Timings แล้วดูตรง DRAM Frequency ครับ แต่ต้องเอาไปคูณ 2 นะครับ
ส่วนข้อมูล เอาได้เลยครับ ขอเครดิตแค่นั้นครับ
ของผมขึ้น 199.5 MHz ถ้าคูน2 ได้ 399 เอง
ให้ความรู้มากดีคับ
แสดงความคิดเห็น